- ตราประจำจังหวัด
- คำขวัญจังหวัด
- ประวัติเมืองพังงา
- ต้นไม้ประจำจังหวัด
- ตำนานเขารูปช้าง
- สภาพทางภูมิศาสตร์
รูปเขาตะปู รูปเรือขุดแร่ และรูปเขาช้างอยู่ด้านหลัง
รูปเขาช้าง หมายถึง
สัญลักษณ์ ภูเขาสูงรูปช้าง ซึ่งอยู่หลังศาลากลางจังหวัดพังงา ประวัติศาสตร์กล่าวว่า ในพ.ศ. 2532 พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายใต้ (ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง) ราษฎร์บางส่วนที่ไม่มีอาวุธและกำลังจะต่อสู้ต้องอพยพไปหลบภัยอยู่ในบริเวณ ลุ่มแม่น้ำพังงา ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ และตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนั้นตลอดมา
รูปเรือขุดแร่ หมายถึง
สัญลักษณ์ การประกอบอาชีพในอดีตของจังหวัดพังงาที่มีอาชีพหลัก ทางด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก สามารถผลิตแร่ดีบุกได้เป็นอันดับหนึ่ง ของประเทศและเป็นที่ยอมรับกันว่าในอดีตนั้นเศรษฐกิจและอาชีพของจังหวัดพังงา ขึ้นอยู่กับแร่เป็นสำคัญ
รูปเขาตะปู หมายถึง
สัญลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา
คำขวัญจังหวัดพังงา "แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร"
ความหมาย
- แร่หมื่นล้าน:หมายถึงแร่ดีบุก ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของจังหวัดพังงาในอดีต
- บ้านกลางน้ำ : คือหมู่บ้านเกาะปันหยีที่ตั้งอยู่กลางทะเลบริเวณอ่าวพังงา
- ถ้ำงามตา : ด้วยจังหวัดพังงาเป็นจังหวดที่มีภูมิประเทศเป็นขุนเขา ถ้ำงามตาจึงหมายถึงถ้ำต่างๆ ในจังหวัดที่มีความสวยงาม
- ภูผาแปลก : คือภูเขาที่มีรูปร่างแปลก เช่น เขาพิงกัน/เขาตาปู/เขารุปช้าง
- แมกไม้จำปูน : คือดอกจำปูนซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด
- บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร : คือความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในจังหวัด
ประวัติเมืองพังงา
จังหวัดพังงาเดิมเชื่อวันว่าชื่อ "เมืองภูงา" ตามชื่อเขางาหรือเขาพังงาหรือกราภูงา หรือ พังกา (ภาษามลายู แปลว่า ป่าน้ำภูงา) ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดพังงาปัจจุบัน ในสมัยก่อนเมืองภูงาขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อของเมืองภูงาได้ปรากฎอยู่ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้นฝ่ายกรมพระสุรัสวดีฝ่ายซ้าย เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองกับเมืองภูเก็ต และเหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะเนื่องมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรร์ มีชาวต่างชาติมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และช่าวต่างชาติเหล่านี้คงออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมืองพังงา เพราะแต่เดิมช่าวต่างชาติเขียนชื่อเมืองภูงาว่า Phunga หรือ Punga อ่านว่าภูงา หรือพังงา หรือ พังกา ก็ได้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
จังหวัด พังงา เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศ ไทย โดยเฉพาะปรากฎหลักฐานจากการขุดค้นของนักโบราณคดี พบว่าเครื่องมือและภาพเขียนสีแบบต่างๆ ตามถ้ำในละแวกอ่าวพังงา ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอทับปุด และยังพบเครื่องมือขวานหินขัดอาวุูที่ทำด้วยกระดูกสัตว์ อีกทั้งค้นพบภาชนะที่ทำจากดินเผาที่อำเภอตะกั่วป่า ทำให้เชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณเมื่อราว หลายพันปีมาแล้ว
สมัยประวัติศาสตร์
ได้มีการขุดค้นพบเทวรูปพระวิษณุหรือพระนาราย์ และชิ้นส่วนของเทวรูปชนเขาเวียง ที่อำเภอกะปง ทำให้เชื่อว่ามีบรรดานักเดินเรือ พ่อค้า พราหมณ์ และช่างฝีมือจากอินเดีย อยู่ในเขตการปกครองของราชวงศ์ปัลลวะ นับถือศษสนาฮินดูได้มาขึ้นบกที่ตะกั่วป่า นอกจากนี้ในตำนานเมืองนครศรีรธรรมราชได้กล่าวถึงเมืองตะกั่วถลาง เป็นชุมชนที่มีการขุดแร่ดีบุก ชาวพื้นเมืองสมัยนั้นเรียกดีบุกว่า "ตะกั่วดำ" ดังนั้นเมืองตะกั่าวถลางน่าจะหมายถึงบริเวณอำเภอตะกั่วป่าและอำเภอตะกั่ว ทุ่ง ในเขตจังหวัดพังงา และอำเภอถลางในเขตจังหวัดภูเก็ต
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตะกั่วป่ามีฐานเป็นเหัวเมืองทางใต้ ส่วนเมืองพังงาเป็นเมืองแขวง ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่าวป่า สมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอก และมีหัวเมืองต่างๆ ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชหลายเมือง รวมถึงเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลางด้วย ตะกั่วป่ามาปรากฎชื่ออีกครั้งเมือเกิดสงครามเก้าทัพช่วงปี พ.ศ.2328
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน
ในช่วงปี พ.ศ.2352 ครั้นเมือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต และมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รัชกาลที่ 2 พม่าเข้ามาตีเมืองตะักั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และเมืองถลางจนแตก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงรับสั่งให้รวบรวมผู้คนอพยพมาตั้งชุมชนใหม่เป็นเมืองพังงาที่ "กราภูงา" ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ำพังงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง และจัดการปกครองขึ้นเป็นเมือง ต่อมาในสมัยพระาบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรก ยุบเมืองตะกั่วทุ่งมาขึ้นกับเมืองพังงา และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่นั้นมาเมืองตะกั่วป่า เมืองถลาง และเมืองระนอง ก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นด้วยการค้าแร่ดีบุก จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเหล้าเจ้าอยู่ัหัว รัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วประเทศ จึงยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับเมืองพังงา แต่ยังดำรงควาเมป็นเมืองท่าและเมืองแห่งเหมืองแร่ดีบุกควบคุู่กับภูเก็ตและ ระนองเรื่อยมา จนกระทั้งประมาณปี พ.ศ.2524 ราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกลดต่ำลง ภูเก็ตเริ่มเปลี่ยนเป็นเมืองท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวได้ขยายตัวไปยังจังหวัดใกล้เคียง ทั้งตรัง กระบี่ รวมไปถึงเมืองพังงาด้วย ส่งผลให้การท่องเที่ยวและสภาพเศรษฐกิจของเมืองพังงาดีขึ้น ปัจจุบันนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงาโดยตรงและมี
ต้นไม้ประจำจังหวัด
พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดพังงา
ชื่อวิทยาศาสตร์ CINNAMONUM PORRECTUM KOSTE
วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น จะไคหอม จะไคต้น จวงหอม พลูต้นขาว
ลักษณะ ไม้ ต้นสูง 10- 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียว หรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว ขึ้นในป่าดงดิบบนเขา ทั่วประเทศ พบมากในภาคใต้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
ประโยชน์ เนื้อ ไม้มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ทำตู้ หีบใส่เสื้อผ้า กันมอด และแมลงอื่น ๆ และใช้เป็นยาสมุนไพรเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
หมายเหตุ : ท่านสามารถหาดูได้ที่วัดบางเหรียง อ.ทับปุด หรือที่หน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดพังงา
ตำนานเขาช้าง
เนื้อเรื่อง
เดิมมีพี่น้อง ๒ คน พี่ชื่อยมดึงเป็นชาย น้องชื่อยมโดย เป็นหญิง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมานางยมโดยเสียชีวิตตายมเศร้าโศกมากจึงละทิ้งถิ่นเดิมไปตามยถากรรมจนมา ถึงปลายคลองแสง ในเขตอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และอาศัยอยู่กับตาโจงโดงในละแวกบ้านไกรสร ซึ่งมีอาชีพหาน้ำมันชันจากต้นยาง เนื่องจากตายมดึงเป็นคนขยันจนตาโจงโดงพอใจมาก ถึงกับยกนางทองตึงให้แก่ตายมดึงครั้นอยู่มาวันหนึ่งมีโขลงช้างป่าเข้ามา ทำลายไร่ข้าวและผักผลไม้ของตายมดึง ไล่ไปแล้วก็กลับมากินอีกเป็นหลายคราวจนนายยมดึงโกรธแค้น จะฆ่าช้างทั้งโขลงนั้นให้ได้ยังมีตางุ้ม เป็นชาวบ้านพุมเรียง อำเภอไชยามีอาชีพค้าขายเดินทางไปต่างเมืองอยู่เสมอ ตางุ้มมีช้างอยู่ ๒ เชือก เป็นช้างพังและช้างพลายเพื่อเป็นพาหนะในการบรรทุกสินค้า คราวนั้นตางุ้มเดินทางจากไชยาไปค้าขายถึงเขาพนมและจะต่อไปยังตะกั่วป่า ขณะตางุ้มพักช้างอยู่นั้น โขลงช้างที่ตายมดึงไล่วิ่งผ่านมา ช้างพลายของตางุ้มเห็นช้างพังงามเข้าก็กระชากปลอกขาดออกวิ่งติดตามนางช้าง พังป่านั้นไป ได้อาละวาดต่อสู้กับช้างพลายป่าจนฝูงช้างแตกกระจัดกระจายหนีไปคนละทิศละทาง จนเป็นเหตุให้ตายมดึงสำคัญผิดติดตามล่าช้างของตางุ้มเชือกหนึ่งด้วย ตายมดึง สะกดรอยล่าช้างกับหมาตัวหนึ่ง ตามมาจนถึงคลองสก ซึ่งน้ำเชี่ยวมาก ช้างพังเชือกหนึ่งกำลังท้องแก่ตกใจวิ่งหนี จนพลาดตกลงไปในคลองนั้น แรงกระแทกทำให้ตกลูกออกมา ลูกช้างตัวนั้นกลายเป็นหินอยู่กลางคลองสก จึงเรียกว่า “หินลูกช้าง” มาจนบัดนั้นตายมดึงยังคงติดตามรอยช้างต่อไป โดยลากหอกตามไป เรื่อย ๆ ทางที่ลากหอกไปนั้น ทำให้ดินและหินแยกเป็นทางน้ำอยู่ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกหมู่บ้านแถบนั้นว่า “บางลากหอก” หรือบางตาม จนมาถึงทุกวันนี้
ตายม ดึงตามช้างไปจนถึงช่องเขาในป่าลึก ในตำบลคลองสก ณ ที่ นั้นมีม้าตัวหนึ่งเหลียวมาดูตายมดึง เขาช่องนั้น จึงได้ชื่อว่า “ช่องม้าเหลียว” ครั้นไล่ต่อไปจนเกือบจะทันตายมดึงได้เอาดินปืนใส่กระบอกปืนจ้องยิง แต่กระสุนพลาดไปจึงเรียกสถานที่ที่กระสุนตก ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ บ้านบางหมานว่า “ช่องลูกปลาย” และด้วยความโกรธที่ยิงช้างไม่ถูกตายมดึง จึงโยนปืนทิ้ง ปืนไปตกบนภูเขาตรงหน้าวัดสองพี่น้อง ตำบลคลองสก จึงเรียนภูเขานั้นว่า “เขาโยน”
ตายมดึงเหนื่อยมาก จึงปล่อยให้หมาที่ตามมาด้วยไล่ช้างไปก่อน หมาไล่ไปพบแลน (เหี้ย) แลนวิ่งหนีลงรู ซึ่งอยู่บนเขาตรงหน้าถ้ำวราราม แต่แลนถูกหมาตะครุบได้ตรงส่วนหาง หางแลนจึงหลุดคารูนั้นอยู่ จึงเรียกสถานที่นั้นว่า “แลนคารู” ครั้นแลนหลุดไปได้หมาได้แต่แหงนดู จึงเรียกที่บริเวณนั้นว่า “ย่านหมาแหงน” ฝ่ายตายมดึงได้ใช้พร้าขว้างแลนพลาดไปถูกภูเขา พร้าหัก จึงเรียกสถานที่นั้นว่า “เขาพร้าหัก” ครั้นไล่ต่อไปอีกเกิดฝนตกหนักจำเป็นต้องเอาดินปืนทิ้งไว้ในถ้ำ จึงเรียกถ้ำนั้นว่า”ถ้ำดินปืน”ช้างพลายของตางุ้มถูกตายมดึงตามล่าไม่ลดละ ต้องเตลิดหนีไปจนถึงแดนเมืองตะกั่วป่า ไปหยุดนอน
ณ ป่าแห่งหนึ่งในเขตอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา จึงได้ชื่อว่า “บ้านช้างนอน” พอตายมดึงตามมาเกือบทันช้างก็หนีต่อไปจนผ่านช่องเขาซึ่งอยู่ระหว่างอำเภอ ท้ายเหมืองกับอำเภอตะกั่วทุ่ง ตายมดึงเห็นแผ่นหินใหญ่วางอยู่จึงยืนลับหอกกับแผ่นหินนั้น ที่นั่นจึงได้ชื่อว่า “เขาหินลับ” สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ตายมดึงตามล่าจนเข้าเขตเมืองพังงา ก็เป็นที่ป่ารกและฝนตกหนัก จึงปืนขึ้นไปบนภูเขาลูกหนึ่ง แล้วชะโงกดูช้างเชือกนั้น ปัจจุบันบริเวณนั้นจึงเรียกว่า “ทุ่งคาโง่ก” พอตายมดึงเห็นช้างก็รีบลงมาใช้หอกแทงช้างนั้นทันที หอกปักเข้าที่ขาข้างหนึ่ง ทำให้ขาช้างเป็นแผลใหญ่ และพิการเดินไม่ถนัด เรียกบริเวณที่ช้างถูกแทงขานั้นว่า “บ้านแผล” (อยู่ในเขตอำเภอเมืองพังงา) ช้างยังกระเสือกกระสนหนีต่อไปจนหมดแรงก็หมอบนอนอยู่กลางแดด ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่า “บ้านตากแดด” ตายมดึงได้ใช้หอกแทงตรงท้องของช้างเลือดไหลทะลักออกมาในที่สุดก็สามารถล้ม ช้างพลายของตางุ้มได้สำเร็จช้างนั้นกลายเป็นหินเรียกว่า “เขาช้าง” ตรงส่วนที่เป็นท้องของช้าง ซึ่งมีเลือดไหลทะลักออกมานั้น กลายเป็นน้ำตก และท้องช้างกลายเป็นถ้ำใหญ่เรียกว่า “ถ้ำพุงช้าง” และด้วยความแค้นของตายมดึงได้ผ่าท้องช้างล้วงเอาตับไตไส้พุงออกมาต้มแกงกิน เป็นอาหาร พอกินเสร็จก็ยกหม้อข้าวหม้อแกงเหวี่ยงลงในวังน้ำใกล้ ๆ นั้น ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่า “วังหม้อแกง” ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับตลาดพังงา และต่อมาคำว่า “พิงงา” นี้เอง ได้กลายมาเป็น “พังงา”ฝ่ายตางุ้มเจ้าของช้างเที่ยวตามหาช้างของตนไม่พบ ตามมาจนถึงพังงา จึงรู้ว่าช้างของตนถูกฆ่าเสียแล้วก็เสียใจจนขาดใจตายตามช้างไป แล้วร่างของตางุ้มกลายเป็นภูเขาเรียกว่า “เขาตางุ้ม” นั่งเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ ซากช้าง คือ “เขาช้าง” นั้นเองบางตำนานเล่าว่าช้างของตางุ้ม เป็นช้างพังและมีงาเล็ก ๆ เมื่อถูกงาออกจึงเรียกว่า “พังงา” และบาง
ตำนาน เล่าว่าช้าวที่ถูกฆ่านั้นเป็นช้างของตายมดึงที่ขี่ไปแต่งงาน แล้วช้างหลุดไปทำลายพืชไร่ของเขา จึงถูกฆ่าตำนานที่เกี่ยวกับเขาช้างนี้ เนื่องจากมีมานานผู้เล่าจึงมักนำเอาสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นมาเชื่อมโยงเสริมต่อ จึงพิสดารออกไปมากมาย ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ในจดหมายเหตุประพาสหัว เมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ ว่า “เขาช้างที่กล่าวมาแล้วนั้นมีเรื่องเล่ามาว่า ตายมดึงได้ผูกช้างไว้จะไปช่วยการแต่งงานลูกสาวตาม่องล่าย แต่ช้างได้ไปเหยียบข้าวในนาของตายมดึงเสียไปมาก แล้วก็หนี ตายมดึงไล่ช้างมาตั้งแต่ตะกั่วป่ามาทันเข้าที่นี่ แล้วฆ่าช้างนั้นตาย ตายมดึงถอนงาช้างไปพิงไว้ที่เขาลูกหนึ่ง จึงมีชื่อว่า “เขาพิงงา” อยู่เหนือเขาช้าง เล่ากันต่อไปว่าเมืองนี้เดิมเรียกว่า “เมืองพิงงา” มาภายหลังจึงเพี้ยนไปเป็น พังงาแทน ส่วนช้างที่ตายมดึงฆ่าตายนั้น ที่ผูกอยู่บนหลังช้างได้ตกลงมาคว่ำอยู่ทางท้ายช้าง แล้วกลายเป็นเขาอยู่ต่อท้ายเขาช้างบัดนี้”
คติ / แนวคิด
ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาสถานที่สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในจังหวัดพังงา
จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย
และมีเกาะต่าง ๆ อยู่ในทะเลอันดามันมากถึง 155 เกาะ นับเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเกาะมากที่สุดในประเทศไทย