การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองพังงา
- อำเภอเกาะยาว
- อำเภอกะปง
- อำเภอตะกั่วทุ่ง
- อำเภอตะกั่วป่า
- อำเภอคุระบุรี
- อำเภอทับปุด
- อำเภอท้ายเหมือง
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองพังงามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกะปง และอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทับปุด
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภออ่าวลึก (จังหวัดกระบี่) และอำเภอเกาะยาวทางอ่าวพังงา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอตะกั่วทุ่งและอำเภอท้ายเหมือง
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองพังงาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 42 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองพังงาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพังงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายช้างทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนบปริง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนบปริงและตำบลสองแพรกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำน้ำผุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำน้ำผุดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตากแดดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาโงก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งคาโงกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะปันหยีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่ากอทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
- วัดประชุมโยธี
- เจดีย์เขาล้างบาตร
- โบราณสถานวัดสราภิมุข
- ถ้ำตาปาน
- อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
- วนอุทยานสระนางมโนราห์
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- บางพัฒน์โฮมสเตย์
- น้ำตกคลองถ้ำ
- ล่องแก่งลำน้ำสองแพรก
- เดินป่าเขากะทะคว่ำ
- น้ำตกโตนปริวรรต
อำเภอเมืองพังงา ' ข้อมูลทั่วไป อักษรไทย อำเภอเมืองพังงา อักษรโรมัน Amphoe Mueang Phangnga จังหวัด พังงา รหัสทางภูมิศาสตร์ 8201 รหัสไปรษณีย์ 82000 ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 549.5 ตร.กม. ประชากร 41,363 คน (พ.ศ. 2557) ความหนาแน่น 75.27 คน/ตร.กม. ที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองพังงา เลขที่ 582 ถนนเพชรเกษม ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000 พิกัด 8°26′36″N 98°31′5″E หมายเลขโทรศัพท์ 0 7648 1517 หมายเลขโทรสาร 0 7648 1517
ที่ตั้งและอาณาเขต
เกาะยาว มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตร.กม. ประกอบด้วย 2 เกาะใหญ่ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ อีกทั้งยังถูกล้อมรอบด้วยเกาะเล็กๆ อีกมากมาย มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ทะเลอันดามันและอ่าวพังงา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองกระบี่ (จังหวัดกระบี่) และอ่าวพังงา
- ทิศใต้ ติดต่อกับทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ทะเลอันดามัน
ประวัติ
บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และ สตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328) ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้
พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากอำเภอเมืองพังงา และขึ้นต่อเมืองพังงา ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508
ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย
- เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)
ประชากร
- เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทย
- อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นชาวประมงและเกษตรกรรม
- ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมร้อยละ 99.9 ชาวไทยพุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 0.1
การเดินทางไปเกาะยาวน้อย
- จากจังหวัดพังงา
เที่ยวไป จากท่าเรือท่าด่านศุลกากร - เกาะยาวน้อย (ท่าเรือมาเนาะ หรือ ท่าเรือสุขาภิบาล ขึ้นอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลงด้วย) มีเรือออกวันละ 1 เที่ยว เวลาเที่ยงตรง เที่ยวกลับ จากเกาะยาวน้อย - ท่าเรือท่าด่านศุลกากร มีเรือออกเวลา 7 โมงเช้า ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม.ครึ่ง
- จากจังหวัดภูเก็ต
เที่ยวไป จากท่าเรือบางโรง มีเรือโดยสารขนาดใหญ่และเรือโดยสารแบบติดเครื่องยนต์เร็ว ( Speed Boat )ออกวันละ 9 เที่ยว ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.50 นาฬิกา โมงเช้าถึง 17.40 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที เที่ยวกลับ จากท่าเรือเกาะยาวน้อย - ท่าเรือบางโรง มีเรือออกวันละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น
- จากจังหวัดกระบี่
ลงเรือที่ท่าเรือท่าเลน
การเดินทางไปเกาะยาวใหญ่
- จังหวัดภูเก็ต
เที่ยวไป
- 08.30 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว)
- 11.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (วันศุกร์เรือออก 10.30 น.)
- 14.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือข้ามฟากเอารถยนต์ลงเรือได้)
- 17.00 น. ท่าเรือเจียรวานิช (เรือเร็ว)
- จังหวัดพังงา
เที่ยวกลับ
- 07.20 น. ท่าเรือโละจาก (เรือเร็ว)
- 08.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือข้ามฟาก)
- 14.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือข้ามฟาก)
- 15.00 น. ท่าเรือโละจาก (เรือยนต์โดยสารไม้)
- เที่ยวเรือเพิ่มใหม่
จากเกาะยาวใหญ่ออกจากท่าเรือแหลมใหญ่ เทียบท่าท่าเรือแหลมหิน จังหวัดภูเก็ต
อำเภอเกาะยาว | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
' | ||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ประวัติ
ประวัติอำเภอกะปง คำว่า กะปง มีความหมายหรือมีที่มาอย่างไรนั้นยังคงค้นหาหลักฐานไม่ได้ชัดจนบัดนี้ แต่ตามทางสืบสวนได้สดับตรับฟังโดยเล่าต่อต่อ ๆ กันมาพอจะเชื่อได้ว่า คำว่า กะปง เป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ในท้องที่เมืองตะโกลา สมัยสุวรรณภูมิ (อำเภอตะกั่วป่า ในปัจจุบัน) หมู่บ้านเล็ก ๆ นี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองตะโกลา มีลำน้ำไหลผ่านหมู่บ้านลงสู่มหาสมุทรอินเดียโดยไหลผ่านเมืองตะโกลา ในสมัยสุวรรณภูมิ อินเดียเคยมาติดต่อค้าขายกับเมืองตะโกลา และร่องเรือขึ้นมายังหมู่บ้านกะปงนี้เสมอ เพราะสองฝั่งของลำน้ำกะปงเป็นที่ราบและอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร เฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์ในดินที่สำคัญที่สุด คือ แร่ดีบุก ด้วยเหตุนี้เองราษฎรจึงได้อพยพมาจากเมืองตะโกลาเข้ามาทำมาหากินในบ้านกะปง มากยิ่งขึ้น จนถึง ร.ศ.116 บ้านกะปงซึ่งเป็นบ้านเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองตะโกลาหรือตะกั่วป่า ก็ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่าอำเภอกะปง จนถึงปัจจุบันนี้ ลำน้ำกะปงบัดนี้ตื้นเขินมากเรือสำเภาขนาดใหญ่ไม่สามารถขึ้นล่องได้ เว้นแต่ฤดูน้ำหลาก สถานที่ว่าการอำเภอได้ตั้งอยู่ที่บ้านกะปง หมู่ที่ 2 ตำบลกะปง เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2497 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่บ้านปากถัก หมู่ที่ 2 ตำบลท่านา
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอกะปงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตะกั่วป่า และอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพังงาและอำเภอท้ายเหมือง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอตะกั่วป่า
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอกะปงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | กะปง | (Kapong) | 4 หมู่บ้าน | |||||||
2. | ท่านา | (Tha Na) | 4 หมู่บ้าน | |||||||
3. | เหมาะ | (Mo) | 4 หมู่บ้าน | |||||||
4. | เหล | (Le) | 6 หมู่บ้าน | |||||||
5. | รมณีย์ | (Le) | 6 หมู่บ้าน | |||||||
6. | บางขี้โร้ย | (Bangkeroay) | 2 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอกะปงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่านา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่านา
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่านา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะปงและตำบลท่านา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่านา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหมาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหมาะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลรมณีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรมณีย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางขี้โร้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขี้โร้ยย์ทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกลำรู่ อยู่ในเขตป่าเทือกเขากระได เป็นน้ำตกที่มีความสูงขนาดกลางรวม 5 ชั้น สามารถเดินทางโดยใช้ถนน แยกจากทางหลวง 4090 ผ่านที่ว่าการอำเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลำรู่ประมาณ 9 กม. และเดินทาง ต่อไปยังน้ำตกลำรู่อีก 1 กม.
วัดนารายณิการาม
ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเหล ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 14 กม. เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษณ์และนางสีดา รูปสลักเหล่านี้มีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมือง "ตะโกลา" (ชื่อเดิมของเมืองตะกั่วป่า) และการเผยแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคแถบนี้
บ่อน้ำพุร้อนอำเภอกะปง
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่านา อยู่ห่างจากตัวอำเภอกะปง 8 กม. มีน้ำแร่ไหลผ่านซอกชั้นหินต่างๆ ตามหุบเขา ทางอำเภอได้จัดบ่อกักน้ำแร่ไว้ น้ำแร่มีอุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส
น้ำตกหินลาด
ห่างจากที่ว่าการอำเภอกะปงไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 8 กม. เกิดจากคลอง 3 คลอง คือ คลองบางใหญ่ คลองเขาไม้แก้ว และคลองมะละกอ ไหลมาบรรจบกัน เกิดเป็นน้ำตกหินลาดที่มีโขดหินสวยงามธารน้ำใสสะอาด
น้ำตกแสงทอง ห่างจากตัวเมืองพังงา 48 กม. ตรงข้ามโรงพยาบาลกะปง มีทางเข้าน้ำตกระยะทาง 6 กม. เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 11 ชั้น สามารถเล่นน้ำได้ตลอดปี
รูปปั้นพระนารายณ์
ประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เทวรูปพระลักษณ์ องค์จำลอง ซึ่งองค์จริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ โดย รูปปั้นพระนารายณ์ คือ พระวิษณุปางมัธยมโยคะสถานกมูรติ 4 กร ประทับยืน เป็นประติมากรรมลอยตัว ขนาดสูง 235 กว้าง 85 เซนติเมตร หนา 25 เซนติเมตร ลักษณะ พระวรกายสมส่วน บั้นพระองค์คอด พระโสภีพาย พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรมองตรง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์ขวาหลังหักหายไป พระหัตถ์ขวาหน้าแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายหลังหักหายไป พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงท้าวที่พระโสณี ทรงสวมกีรีฏมุกุฏทรงสูงสอบเข้าทางด้านบนประดับด้วยลายวงแหวน ทรงพระภูษาโจงกรอมข้อพระบาทจีบเป็นริ้วและขมวดเป็นปมชักชายขึ้นด้านบน และคาดรัดประคตซึ่งตกแต่งด้วยสายลูกประคำทับ คาดผ้าคาดพระโสณีตามแนวนอนซึ่งผูกเป็นโบที่พระปรัศว์แล้วคาดผ้ารูปโค้งที่ ต้นพระเพลา ตกแต่งพระวรกายด้วยกรองศอ พวงประคำ พาหุรัด ทองพระกร และพระธำมรงค์ พร้อมกับทรงคาดสายยัชโญปวีตทับสายอุทรพันธะ
อำเภอกะปง | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
ม่านหมอกเมืองใต้ ผลไม้นานา พระนารายณ์ล้ำค่า ศรัทธาหลวงพ่อเซ่ง |
||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอตะกั่วทุ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท้ายเหมืองและอำเภอเมืองพังงา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวพังงา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอถลาง (จังหวัดภูเก็ต)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอตะกั่วทุ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอตะกั่วทุ่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกระโสม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกระโสม
- เทศบาลตำบลโคกกลอย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโคกกลอย
- องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถ้ำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกระโสม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระโสม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกระโสม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะไหล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะไหลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอยู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอยู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหล่อยูงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกลอย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลโคกกลอย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเคียนทั้งตำบล
อำเภอตะกั่วทุ่ง | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
ท่าเรือเด่น เป็นเมืองเก่า เขาถ้ำสวย รวยคุณธรรม |
||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอตะกั่วป่าตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกหรือฝั่งทะเลอันดามัน ห่างจากอำเภอเมืองพังงาไปทางเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 800 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคุระบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอกะปง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท้ายเหมือง
- ทิศตะวันตก เป็นทะเลอันดามัน
ประวัติ
ตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่รู้จักของชนหลายเชื้อชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ ในชื่อเมืองตะโกลา (Takola) เนื่องจากเป็นเมืองท่าจอดเรือ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย และเป็นเส้นทางลัดขนสินค้าข้ามคาบสมุทรมลายูจากฝั่งทะเลอันดามันไปยังอ่าวไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตะกั่วป่ายังคงมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดตลอดมา สุดท้ายด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตะกั่วป่าจึงถูกลดฐานะจากจังหวัดตะกั่วป่าลงเป็นอำเภอหนึ่งและรวมเข้ากับจังหวัดพังงาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอตะกั่วป่ามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาสลับซับซ้อน ไม่ค่อยมีที่ราบ แม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำตะกั่วป่า ไหลลงสู่ทะเลอันดามัน อำเภอตะกั่วป่าได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนืออย่างเต็มที่ จึงทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปีนานถึงแปดเดือน จึงได้สมญานามว่า เมืองฝนแปดแดดสี่ จำนวนประชากรเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2550 รวม 44,959 คน อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตะกั่วป่าและที่ราบชายฝั่งทะเล อาชีพที่สำคัญของประชากรคือการเกษตร ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ ปัจจุบันกำลังพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ป่าไม้ โดยเฉพาะป่าชายเลนที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ แร่ดีบุก และธรรมชาติที่สวยงาม
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอตะกั่วป่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอตะกั่วป่าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกั่วป่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางนายสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนายสีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลคึกคัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคึกคักทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไทรและตำบลตำตัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะคอเขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะคอเขาทั้งตำบล
อำเภอตะกั่วป่า | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
' | ||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอคุระบุรีตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสุขสำราญ (จังหวัดระนอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านตาขุน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และอำเภอตะกั่วป่า
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอคุระบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | คุระ | (Khura) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บางวัน | (Bang Wan) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
3. | เกาะพระทอง | (Ko Phra Thong) | 4 หมู่บ้าน | |||||||
4. | แม่นางขาว | (Mae Nang Khao) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอคุระบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคุระบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคุระและตำบลแม่นางขาว
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุระ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคุระบุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางวันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพระทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นางขาว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคุระบุรี)
สถานที่สำคัญ
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
- อุทยานแห่งชาติศรีพังงา
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อำเภอคุระบุรี | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
' | ||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอทับปุดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพนม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปลายพระยาและอำเภออ่าวลึก (จังหวัดกระบี่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวพังงา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองพังงา
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอทับปุดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอทับปุดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทับปุด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทับปุด
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับปุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับปุด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทับปุด) และตำบลถ้ำทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรุ่ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแสนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเจริญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเหรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเหรียงทั้งตำบล
อำเภอทับปุด | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
สวยสง่าเจดีย์นิมิตร ผลผลิตยางพารา ปาล์มประมงล้ำค่า คือหน้าตาชาวทับปุด |
||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอท้ายเหมืองตั้งอยู่ทางทิศของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตะกั่วป่าและอำเภอกะปง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองพังงาและอำเภอตะกั่วทุ่ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตะกั่วทุ่ง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอท้ายเหมืองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่
|
![]() |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอท้ายเหมืองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท้ายเหมือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท้ายเหมือง
- เทศบาลตำบลลำแก่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำแก่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเหมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายเหมือง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท้ายเหมือง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาเตย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเตยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมะพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมะพร้าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำภี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำภีทั้งตำบล
อำเภอท้ายเหมือง | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||
ท่าเรือทับละมุ น้ำพุร้อนบ่อดาน อุทยานเขาลำปี ประเพณีปล่อยเต่า เที่ยวชมเขาหน้ายักษ์ พักผ่อนริมหาดทราย |
||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
|